เปิดบริการ
จันทร์ – เสาร์ 10.00 – 19.00 น.
บริการ | ราคา |
---|---|
บริการเอชไอวี | |
• ตรวจคัดกรองเอชไอวี | 250 |
• ตรวจคัดกรองเอชไอวี โดยวิธี NAT | 1,650 |
• ตรวจหาจำนวนเม็ดเลือดขาว CD4 | 550 |
• ตรวจหาปริมาณไวรัส | 1,650 |
• ตรวจหาการดื้อยา | 2,600 – 7,600 |
• บริการเพร็พ (PrEP)
• โปร 999 + ตรวจ STIs
| เริ่มต้น 450 (ค่ายา) |
• บริการเป๊ป (PEP)
• โปร 2500 + ตรวจ STIs
| เริ่มต้น 1,170 (ค่ายา) |
• ยาต้านไวรัสเอชไอวี | เริ่มต้น 890 (ค่ายา) |
บริการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ | |
• ตรวจคัดกรองซิฟิลิส | 250 |
• ตรวจระดับการติดเชื้อซิฟิลิส | 110 |
• ตรวจยืนยันการติดเชื้อซิฟิลิส | 250 |
• รักษาซิฟิลิสด้วยการฉีด 1-3 ครั้ง | 488/เข็ม (เฉพาะค่ายา) |
• ตรวจสารพันธุกรรมหนองใน หนองในเทียม | 1,200 |
• ย้อมเชื้อจากหนอง | 100 |
• รักษาหนองใน หนองในเทียม | 84 – 218 (เฉพาะค่ายา) |
ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 11 รายการ
• Neisseria gonorrhoeae หนองใน
• Chlamydia trachomatis (serovars A-K) หนองในเทียม
• Chlamydia trachomatis (serovars L1-3) LGV (ฝีมะม่วง)
• Mycoplasma genitalium หนองในเทียม
• Mycoplasma hominis หนองในเทียม
• Ureaplasma urealyticum / parvum หนองในเทียม
• Haemophilus ducreyi แผลริมอ่อน
• Herpes simplex virus 1 เริม
• Herpes simplex virus 2 เริม
• Treponema pallidum ซิฟิลิส
• Trichomonas vaginalis พยาธิช่องคลอด
| 2,400 |
• รักษาหูดแบบป้ายยา | เริ่มต้น 100
(ไม่รวมค่าแพทย์ และเครื่องมือ)
|
• รักษาหูดแบบอินฟราเรด | 1,800 (ไม่รวมค่าแพทย์ และเครื่องมือ)
|
บริการไวรัสตับอักเสบ | |
• ตรวจหาภูมิต้านทานไวรัสตับอักเสบเอ | 440 |
• ตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี | 200 |
• ตรวจหาภูมิต้านทานไวรัสตับอักเสบบี | 220 |
• ตรวจหาปริมาณไวรัสตับอักเสบบี | 3,100 |
• ตรวจหาภูมิต้านทานไวรัสตับอักเสบซี | 400 |
• ตรวจหาปริมาณไวรัสตับอักเสบซี | 3,900 |
บริการตรวจภายในและคัดกรองมะเร็ง
*ยังไม่รวมค่าแพทย์ ค่าบริการ | |
• ตรวจหาเชื้อเอชพีวี
แนะนำในหญิง > 30ปี
| 1,500 |
• ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก | 700 |
• ตรวจคัดกรองมะเร็งปากทวารหนัก | 400 |
• ตรวจภายในช่องคลอด/ช่องคลอดใหม่ | 250 |
• ส่องดูภายในทวารหนัก | 250 |
• ตรวจทวารหนักด้วยกล้องคุณภาพสูง | 1,000 |
บริการวัคซีน | ราคาต่อเข็ม |
• วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ
| 1,900 (เฉพาะค่ายา) หรือแพ็คเก็จ 3,600 |
• วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
| 760 (เฉพาะค่ายา) หรือแพ็คเก็จ 1,860
|
• วัคซีนป้องกันไวรัสเอชพีวี ชนิด 4 สายพันธุ์
| 3,175 (เฉพาะค่ายา) หรือแพ็คเก็จ 9,100 |
• วัคซีนป้องกันไวรัสเอชพีวี ชนิด 9 สายพันธุ์ | 7,200 (เฉพาะค่ายา) หรือแพ็คเก็จ 21,200 |
• วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ | แพ็คเก็จ 650 บาท |
บริการตรวจโควิด 19 | |
• ตรวจแบบ Rapid-antigen test | 500 |
• ตรวจแบบ RT-PCR | 2,500 |
• ตรวจแบบ RT-PCR สำหรับรับรองการเดินทางไปต่างประเทศ | 3,500 |
บริการตรวจสุขภาพอื่นๆ | |
• ตรวจการทำงานของตับ | 100 |
• ตรวจการทำงานของไต | 100 |
• ตรวจระดับไขมันคอเลสเตอรอล | 100 – 320 |
• ตรวจระดับไขมันดี | 150 |
• ตรวจระดับไขมันไม่ดี | 150 |
• ตรวจระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ | 130 |
• ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด | 100 |
• ตรวจวัดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด | 320 |
• ตรวจหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด | 200 |
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมดตรวจโดยการเจาะเลือด มี 2 วิธี ได้แก่
1.วิธี Anti-HIV : ตรวจหาภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองกับเชื้อ HIV สามารถตรวจได้ตั้งแต่ 1 เดือนหลังมีความเสี่ยง
2.วิธี NAT : ตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อ HIV สามารถตรวจได้ตั้งแต่ 1-2 สัปดาห์หลังมีความเสี่ยง
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ตรวจหาปริมาณเม็ดเลือดขาว CD4 โดยการเจาะเลือด สำหรับผู้ที่อยู่ร่วมกับ HIV หากมีระดับ CD 4 ต่ำกว่า 200 จะทำให้มีโอกาสติดเชื้อฉวยโอกาสได้ง่าย เนื่องจากอยู่ในภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง และหากผู้ที่อยู่ร่วมกับ HIV ได้รับยาต้านไวรัสต่อเนื่องจะมีค่า CD4 คงที่อยู่ที่ระดับ 500-600
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
หรือ Viral Load ในผู้อยู่ร่วมกับ HIV เป็นการตรวจหาปริมาณไวรัส HIV ในเลือด เพื่อประเมินว่าร่างกายสามารถควบคุมปริมาณไวรัสได้มากน้อยเพียงใด
หากได้รับยาต้านไวรัสต่อเนื่องจะทำให้จำนวน Viral Load ต่ำมากๆจนไม่สามารถตรวจวัดได้
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
รับ PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis) ยาป้องกันการรับเชื้อ HIV ก่อนการสัมผัสเชื้อ สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยมีเชื้อเท่านั้น โดยเป็นการรับประทานต่อเนื่องอย่างถูกต้องตามแพทย์แนะนำ
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
รับ PEP (Post-Exposure Prophylaxis) ยาป้องกันการรับเชื้อ HIV ในกรณีฉุกเฉิน หลังการสัมผัสเชื้อ สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงมา ภายใน 72 ชั่วโมง และต้องทานต่อเนื่อง 28 วัน
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ยาต้านไวรัสสำหรับผู้ที่มีเชื้อ HIV โดยจะทำหน้าที่ช่วยลดระดับจำนวนไวรัสลง
หากรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างต่อเนื่องจะเข้าสู่สถานะ U=U หรือ ตรวจไม่พบเชื้อ = ไม่แพร่เชื้อ
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ซิฟิลิสเกิดจากเชื้อแบคทีเรียทริปโปนีมา พัลลิดุม (Treponema pallidum)
สามารถติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์หรือการสัมผัสเชื้อ
ตรวจหาแอนติบอดี้ที่ก่อเชื้อโรคซิฟิลิสโดยการเจาะเลือด ทราบผลภายใน 1 ชั่วโมง
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ระยะแรก จะมีแผลที่อวัยวะเพศ มีขอบแข็ง ไม่มีอาการเจ็บปวด
ระยะที่ 2 จะพบผื่นที่ลำตัว ฝ่ามือ ฝ่าเท้า อาจมีปื้นสีขาวในช่องปาก จะอยู่ในช่วง 6 สัปดาห์- 6 เดือน หลังได้รับเชื้อ
ระยะที่ 3 เชื้อจะแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย ส่งผลต่อการทำงานของสมอง ดวงตา หัวใจ ไขสันหลังและกระดูก ระยะนี้อยู่ในช่วง 10 ปีขึ้นไป
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ตรวจยืนยันโดยการเจาะเลือดหาแอนติบอดีต่อเชื้อซิฟิลิส ซึ่งจะสามารถคงอยู่ในร่างกายได้นานหลายปี
จึงสามารถตรวจทราบถึงการติดเชื้อในอดีตได้
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
รักษาได้โดยการฉีดยาเบนซาทีน เพนนิซิลิน จี (Benzathine Penicillin G) 2.4 ล้านยูนิต
เข้ากล้ามเนื้อสะโพกทั้ง 2 ข้าง
ควรนำคู่นอนมาตรวจด้วยแม้ไม่มีอาการ และหลังการรักษาควรงดมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 1-2 สัปดาห์
หรือใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งในทุกช่องทาง เพราะในระยะดังกล่าวยังสามารถแพร่เชื้อได้
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ตรวจคัดกรองด้วยการเก็บตัวอย่างส่งตรวจจากบริเวณลำคอ ช่องคลอด หรือช่องคลอดใหม่ ทวารหนัก และ/หรือจากปัสสาวะ
ทราบผลตรวจภายใน 2 ชั่วโมง
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ตรวจโดยการเก็บตัวอย่างหนองไปส่งตรวจหาเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดหนองใน
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
1.ฉีดยาเซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone) 500 มิลลิกรัม ร่วมกับทานยาดอกซี่ไซคลีน (Doxycycline) 100 มิลลิกรัม ทานวันละ 2 ครั้งหลังอาหาร นาน 7 วัน
2.ฉีดยาเซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone) 500 มิลลิกรัม เข้ากล้ามเนื้อเพียงครั้งเดียว ร่วมกับทานยาอะซิโธรมัยซิน (Azithromycin) 1 กรัม ครั้งเดียว กรณีที่ไม่สามารถใช้ดอกซี่ไซคลีนได้
หนองในเทียมรักษาให้หายได้โดยยาดอกซี่ไซคลีน (Doxycycline) 100 มิลลิกรัม ทานวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน หรือทานยาอะซิโธรมัยซิน (Azithromycin) 1 กรัม ทานเพียงครั้งเดียว กรณีที่ไม่สามารถใช้ดอกซี่ไซคลีนได้
ควรนำคู่นอนมารักษาด้วยแม้ไม่มีอาการ
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
หูดหงอนไก่เกิดจากการติดเชื้อ HPV หากมีอาการสามารถรักษาได้ด้วยยาทา หรือรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น จี้ไฟฟ้า
รังสีอินฟราเรด (Infrared) หรือ เลเซอร์ (Laser) และควรนำคู่มาตรวจร่างกายด้วย
สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน HPV และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งทวารหนักตามข้อบ่งชี้ของแต่ละคน เป็นประจำทุกปี
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
หูดหงอนไก่ (Genital warts) และเชื้อเอชพีวี (HPV) , มะเร็งปากทวารหนัก (Anal Cancer)
ตรวจหาภูมิต้านทานก่อนฉีดวัคซีน โดยสามารถเลือกตรวจได้หลายวิธี ได้แก่
1.ตรวจภูมิต้านทานระยะยาว (Anti-HAV IgG) จะได้ผลเป็น Positive ในกรณีที่เคยฉีดวัคซีนหรือเคยรักษาไวรัสตับอักเสบ เอ จนหายแล้ว
2.ตรวจสารก่อภูมิต้านทาน (Anti-HAV IgM) สำหรับแพทย์ตรวจในคนไข้ที่ต้องสงสัยในโรค โดยผลจะเป็น positive ในกรณีที่มีการติิดเชื้อระยะเฉียบพลัน
3.ตรวจรวมภูมิต้านทานทั้ง 2 ชนิด หากผลแสดงว่ามีภูมิต้านทานแล้วจึงจะไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีน
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
หากไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกัน แนะนำให้ตรวจคัดกรอง HBsAg ทุก 12 เดือน
หากต้องการฉีดวัคซีนให้ตรวจทั้ง HBsAg และ anti-HBs ก่อนฉีดวัคซีน
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
การตรวจหาภูมิต้านทานไวรัสตับอักเสบบี สามารถตรวจได้ทั้งแบบ
1.ตรวจสารก่อภูมิต้านทาน (HBsAg) หากตรวจพบเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย ต้องพบแพทย์เพื่อรักษาต่อไป
2.ตรวจสารภูมิต้านทาน (Anti-HBs) ในกรณีเคยติดเชื้อจนหายแล้ว หรือเคยรับวัคซีนมาก่อน
3.การตรวจสารภูมิต้านทานชนิดหนึ่งที่บ่งบอกร่องรอยการติดเชื้อ (Anti-HBc)
ควรตรวจทั้ง HBsAg และ anti-HBs ก่อนฉีดวัคซีน
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
การตรวจภูมิต้านทาน (anti-HCV ) กรณีเป็น positive หมายความว่ามีการติดเชื้ออยู่ในร่างกาย หรือเคยเป็นจนหายแล้ว
หาก anti-HCV มีผลเป็น Negative แปลว่า ไม่มีเชื้อและไม่เคยเป็นมาก่อน
ยังไม่มีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบซีได้
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ตรวจหาเชื้อ HPV ในระดับ DNA ซึ่งสามารถพบเชื้อ HPV ได้ในระยะก่อนที่จะพัฒนาเป็นมะเร็ง
ทำให้สามารถป้องกันและรักษาได้ทันท่วงที
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
หูดหงอนไก่ (Genital warts) และเชื้อเอชพีวี (HPV) , มะเร็งปากทวารหนัก (Anal Cancer)
การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test) เป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือสอดผ่านและถ่างช่องคลอด และป้ายเซลล์จากมดลูกส่งตรวจหาเซลล์ผิดปกติ
ซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งได้
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
หูดหงอนไก่ (Genital warts) และเชื้อเอชพีวี (HPV) , มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer)
การตรวจ Anal Pap Smear เป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากทวารหนักโดยการเก็บเซลล์มาตรวจหาความผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณของรอยโรคระยะก่อนเป็นมะเร็ง
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ตรวจอวัยวะบริเวณอุ้งเชิงกรานของผู้หญิงทั้งภายนอกและภายใน ได้แก่ อวัยวะภายนอก, ช่องคลอด,
ปากมดลูก, มดลูก, ปีกมดลูก, รังไข่ เพื่อค้นหาและคัดกรองความผิดปกติ
เป็นการส่องกล้อง เพื่อตรวจดูการทำงานของลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โดยจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Anoscope เป็นเครื่องถ่างแสงในการทำหัตถการ Anoscopy ร่วมด้วย เพื่อดูว่าทวารหนักมีความผิดปกติหรือมีก้อนเนื้ออยู่ภายในหรือไม่ ก่อนวางแผนรักษาในขั้นตอนต่อไป
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
หูดหงอนไก่ (Genital warts) และเชื้อเอชพีวี (HPV) , มะเร็งปากทวารหนัก (Anal Cancer)
รับวัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบเอ แนะนำให้ตรวจภูมิต้านทานก่อนเข้ารับวัคซีน (เลือกตรวจได้หลายแบบตามที่แพทย์ให้คำแนะนำ)
1.ฉีดวัคซีนฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 6 เดือน โดยไม่ต้องตรวจเลือดซ้ำหลังฉีดวัคซีน
2.หากไม่มาฉีดวัคซีนเข็ถัดไปตามนัด สามารถฉีดต่อได้เลยโดยไม่ต้องเริ่มใหม่
3.ผู้อยู่ร่วมกับ HIV ก็สามารถฉีดวัคซีนได้
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
รับวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบบี สร้างภูมิคุ้มกันได้มากถึง 97% (หากรับวัคซีนครบ 3 เข็ม)
ควรตรวจทั้ง HBsAg และ anti-HBs ก่อนฉีดวัคซีน
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
สามารถป้องกันการเป็นหูดได้ 90% (ป้องกันสายพันธุ์ 6,11)
และป้องกันการเกิดมะเร็งได้ 70% (ป้องกันสายพันธุ์ 16,18)
1.อายุน้อยกว่า 15 ปี ฉีดวัคซีน 2 เข็ม โดยฉีดเดือนที่ 0 และ 6-12
2.อายุมากกว่า 15 ปี ฉีดวัคซีน 3 เข็ม โดยฉีดเดือนที่ 0, 1-2 และ 6
3.ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องไม่ว่าอายุเท่าไร ฉีดวัคซีน 3 เข็ม เดือนที่ 0, 1-2 และ 6
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
สามารถป้องกันการเป็นหูดได้ 90% (ป้องกันสายพันธุ์ 6,11)
และป้องกันการเกิดมะเร็งได้ 80% (ป้องกันสายพันธุ์ 16,18,31,33,45,52 และ 58)
1.อายุน้อยกว่า 15 ปี ฉีดวัคซีน 2 เข็ม โดยฉีดเดือนที่ 0 และ 6-12
2.อายุมากกว่า 15 ปี ฉีดวัคซีน 3 เข็ม โดยฉีดเดือนที่ 0, 1-2 และ 6
3.ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องไม่ว่าอายุเท่าไร ฉีดวัคซีน 3 เข็ม เดือนที่ 0, 1-2 และ 6
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
รับวัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันป้องกันไข้หวัดใหญ่ หลังฉีดจะเกิดภูมิคุ้มกันมีอายุได้นาน 1 ปี
แนะนำให้ฉีดทุกปี ปีละ 1 ครั้ง
การตรวจหาเชื้อโควิด-19 เบื้องต้น ซึ่งมีความสะดวกและรวดเร็ว แต่จะตรวจพบเชื้อ เมื่อร่างกายได้รับมาแล้วอย่างน้อย 5 วัน จึงจะได้ผลที่แม่นยำที่สุด
ตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งมีความแม่นยำสูง แม้จะได้รับเชื้อมาไม่นาน หรือมีเชื้ออยู่ในร่างกายน้อยมาก
ออกเอกสารรับรองการตรวจโควิด-19 สำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางไปต่างประเทศ
ตรวจการทำงานของตับ เพื่อเช็คความพร้อมสำหรับผู้ที่รับยาใดๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหนึ่ง
หากตรวจพบว่ามีค่าตับมีความผิดปกติแพทย์จะให้คำแนะนำและปรับแนวทางการรับยานั้นๆต่อไป
ควรตรวจทุก 3 เดือนในปีแรก หรือทุก 6 เดือนในปีถัดไป หรือตามแพทย์แนะนำ
ตรวจการทำงานของไต เพื่อเช็คความพร้อมสำหรับผู้ที่รับยาใดๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหนึ่ง
หากตรวจพบว่ามีค่าไตมีความผิดปกติแพทย์จะให้คำแนะนำและปรับแนวทางการรับยานั้นๆต่อไป
ควรตรวจทุก 3 เดือนในปีแรก หรือทุก 6 เดือนในปีถัดไป หรือตามแพทย์แนะนำ
ตรวจเพื่อให้ทราบค่าไขมันในกระแสเลือดว่าอยู่ในระดับที่ปกติหรือไม่
หากทราบความผิดปกติแพทย์จะแนะนำแนวทางในการลดระดับไขมันลงมาให้เป็นปกติได้อย่างทันท่วงที
ควรตรวจทุก 3 เดือนในปีแรก หรือทุก 6 เดือนในปีถัดไป หรือตามแพทย์แนะนำ
ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดว่าสูงเกินกว่าปกติหรือไม่
หากพบว่ามีความผิดปกติแพทย์จะแนะนำแนวทางการปรับพฤติกรรมและการรักษาต่อไป
ควรงดน้ำและงดอาหารก่อนตรวจวัดระดับน้ำตาล 6 ชั่วโมง
เพื่อตรวจดูสุขภาพทั่วไป และตรวจหาโรคอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น
ควรตรวจทุก 3 เดือนในปีแรก หรือทุก 6 เดือนในปีถัดไป หรือตามแพทย์แนะนำ
บริการตรวจคัดกรองภาวะซึมเศร้าเบื้องต้น บริการให้คำปรึกษาและประเมินด้านจิตใจ โดยจิตแพทย์และผู้ให้คำปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านความหลากหลายทางเพศ รวมทั้งบริการส่งต่อเข้าสู่การรักษาในระบบโรงพยาบาลหรือการรักษาตามสิทธิ์