เอชไอวี (HIV) หรือชื่อเต็มว่า Human Immunodeficiency Virus (HIV) เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว เชื้อเอชไอวีจะเริ่มทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวประเภทซีดี 4 (CD4) ซึ่งเป็นเซลล์ภูมิคุ้มกันของร่างกาย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้ร่างกายเกิดความเจ็บป่วยจากโรคฉวยโอกาสต่างๆ และนำไปสู่โรคเอดส์ได้ในที่สุด
การถ่ายทอดเชื้อ
- การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัย
- ทางเลือดจากการใช้เข็มฉีดยาหรือกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้มีเชื้อเอชไอวี
- จากแม่สู่ลูก
การรักษา
รักษาโดยใช้ยาต้านไวรัส
การป้องกัน
- ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์
- ใช้เข็มฉีดยาที่สะอาดสำหรับการฉีดยาและไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
- เข้ารับการตรวจคัดกรองเมื่อมีความเสี่ยงและรับรู้สถานะการติดเชื้อเอชไอวีของตนเอง
- เข้ารับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสโดยเร็วหลังจากทราบสถานะ เพื่อป้องกันการถ่ายทอดเชื้อไปยังผู้อื่น และเพื่อช่วยให้ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเข้าสู่สภาวะ U=U โดยเร็วที่สุด
- รับ PrEP (PreExposure Prophylaxis) ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสที่สามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนการสัมผัสเชื้อในผู้ที่ยังไม่เคยมีเชื้อ
การตรวจคัดกรอง
วิธีการตรวจหลักๆ มี 2 แบบโดยการเจาะเลือด ได้แก่
- ตรวจด้วยวิธี Anti-HIV: การตรวจหาภูมิคุ้มกัน (antibody) ของร่างกายที่สร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองการที่มีเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายเป็นวิธีที่นิยมใช้ในการตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีในปัจจุบัน สามารถให้ผลได้ใน 1-2 ชั่วโมงหลังการตรวจ ซึ่งผลที่ได้จะเป็นผลที่ย้อนหลังไปประมาณ 1 เดือน
ตรวจด้วยวิธีแนท (Nucleic Acid Testing – NAT): เป็นการหาสารพันธุกรรมของเชื้อเอชไอวี หรือแกนในของเชื้อ เป็นวิธีที่มีความไวมากที่สุด การตรวจในรูปแบบนี้ จะมีข้อแตกต่างจากการตรวจแบบ Anti-HIV คือจะสามารถชี้วัดผลจากร่างกายย้อนหลังไปประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังจากที่ได้รับความเสี่ยง