มะเร็งทวารหนัก คือ โรคมะเร็งที่เกิดเซลล์มะเร็งขึ้นบริเวณทวารหนัก มักมีอาการถ่ายเป็นเลือด ปวดและคันบริเวณทวารหนัก เป็นมะเร็งชนิดที่พบได้ค่อนข้างน้อย ซึ่งโรคมะเร็งทวารหนักก็อาจเกิดขึ้นได้กับเซลล์ทุกชนิดของทวารหนัก ได้แก่ เซลล์บุภายในทวารหนัก โดยอาจเป็นเซลล์เยื่อเมือกหรือเซลล์เบื่อบุผิวภายนอกก็ได้ กล้ามเนื้อ เส้นเลือดและเซลล์ต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น แต่โรคมะเร็งทวารหนักที่พบได้บ่อย มักจะเกิดจากเซลล์เยื่อเมือกบุภายในและเซลล์เยื่อบุผิวภายนอกมากที่สุด จนถึงปัจจุบันสาเหตุการเกิดโรคมะเร็งทวารหนักยังคงไม่ชัดเจน แต่มีผลการวิจัยยืนยันแล้วว่า ปัจจัยบางอย่างมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งทวารหนัก ซึ่งประกอบไปด้วยไวรัสเอชพีวี  (Human Papillomavirus -HPV) โดยสายพันธุ์ที่พบได้บ่อยว่าเป็นสาเหตุของมะเร็งทวารหนัก คือ HPV-16 และ HPV-18 และปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดมะเร็งทวารหนักได้ เช่น มีอายุมากกว่า 50 ปี สูบบุหรี่ มีประวัติเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากช่องคลอด หรือมะเร็งช่องคลอด มีปัญหาเรื่องภูมิคุ้มกันของร่างกาย เปลี่ยนคู่นอนบ่อยครั้ง มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก หรือมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน

การรับเชื้อ

การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ร่วมกับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ

การรักษา

แพทย์จะพิจารณาการรักษาตามปัจจัยหลายอย่าง เช่น ระยะและความรุนแรงของมะเร็ง การตอบสนองของร่างกายต่อการรักษา สุขภาพของผู้ป่วย เป็นต้น โดยวิธีการรักษาหลัก ๆ มีดังนี้

  • การผ่าตัด เป็นการตัดเนื้อเยื่อที่มีเซลล์มะเร็งออก แต่เนื้อเยื่อที่ดีในบริเวณใกล้เคียงก็อาจโดนตัดออกไปด้วย ส่วนใหญ่ใช้วิธีนี้ในกรณีที่มะเร็งทวารหนักมีขนาดเล็กและยังเป็นในระยะเริ่มต้น โดยการผ่าตัดรักษามะเร็งมีหลายรูปแบบ ซึ่งแพทย์จะวิเคราะห์จากอาการของผู้ป่วยและเลือกเทคนิคการผ่าตัดที่เหมาะสมมาใช้กับผู้ป่วยแต่ละราย
  • การทำเคมีบำบัด หรือที่เรียกว่า คีโม เป็นการรักษาด้วยยา โดยอาจฉีดยาเข้าทางเส้นเลือดโดยตรงหรือให้ผู้ป่วยกินยาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกาย แต่การรักษาด้วยวิธีนี้ก็ส่งผลให้เซลล์สุขภาพดีถูกทำลายไปด้วย จึงอาจเกิดผลข้างเคียงตามมา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วง
  • การฉายรังสี เป็นการฉายรังสีพลังงานสูงไปยังบริเวณที่เป็นมะเร็ง เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งในบริเวณนั้น มักใช้รักษาควบคู่กับการทำเคมีบำบัดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ซึ่งวิธีนี้อาจทำให้เนื้อเยื่อใกล้เคียงถูกทำลายไปด้วย และอาจมีผลข้างเคียงทำให้ผิวหนังเป็นแผลหรือเกิดรอยแดง

การป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น การมีคู่นอนหลายคน การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การสูบบุหรี่ ฯลฯ
  • เข้ารับการตรวจคัดกรองความผิดปกติของปากทวารหนักและการตรวจหาเชื้อ HPV ตามข้อบ่งชี้ของแต่ละบุคคล

การตรวจคัดกรอง

การตรวจ Anal Pap Smear เป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากทวารหนักโดยการเก็บเซลล์มาตรวจหาความผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณของรอยโรคระยะก่อนเป็นมะเร็ง

การฉีดวัคซีนป้องกัน HPV

ชนิดของวัคซีนการป้องกันหูดการป้องกันมะเร็งราคา
วัคซีน 2 สายพันธุ์ (16, 18)ไม่สามารถป้องกัน ได้ป้องกันได้ 70% (สายพันธุ์ 16, 18)N/A
วัคซีน 4 สายพันธุ์ (6, 11, 16,18)ป้องกันได้ 90% (สายพันธุ์ 6, 11)ป้องกันได้ 70% (สายพันธุ์ 16, 18)3,175 บาท ต่อเข็ม
วัคซีน 9 สายพันธุ์ (6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58)ป้องกันได้ 90% (สายพันธุ์ 6, 11)ป้องกันได้ 80% (สายพันธุ์ 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58)7,200 บาท ต่อเข็ม

อายุที่เหมาะกับการฉีดวัคซีน

  • อายุ 9–26 ปี แนะนำให้ฉีดทุกคนทั้งผู้หญิง ผู้ชาย รวมทั้งคนข้ามเพศ
  • อายุ 27–45 ปี แนะนำให้พิจารณาเป็นรายกรณี
  • อายุน้อยกว่า 9 ปี หรือ มากกว่า 45 ปี ไม่แนะนำให้ฉีด

วัคซีนฉีดกี่เข็ม

  • อายุน้อยกว่า 15 ปี ฉีดวัคซีน 2 เข็ม โดยฉีดเดือนที่ 0 และ 6-12
  • อายุมากกว่า 15 ปี ฉีดวัคซีน 3 เข็ม โดยฉีดเดือนที่ 0, 1-2 และ 6

ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องไม่ว่าอายุเท่าไร ฉีดวัคซีน 3 เข็ม เดือนที่ 0, 1-2 และ 6

คุณอาจสนใจสิ่งนี้:

มะเร็งปากทวารหนัก (Anal Cancer)

โรคมะเร็งที่เกิดเซลล์มะเร็งขึ้นบริเวณทวารหนัก มักมีอาการถ่ายเป็นเลือด ปวดและคันบริเวณทวารหนัก เป็นมะเร็งชนิดที่พบได้ค่อนข้างน้อย

อ่านต่อ

บริการสุขภาพทางเพศครบวงจร
ดูแลคุณอย่างเข้าใจ ไม่เลือกปฏิบัติ

เปิดบริการ

จันทร์ - เสาร์ 10.00 - 19.00 น.

รับคิวให้บริการคิวสุดท้ายก่อนเวลา 17.00 น.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า